วันอาทิตย์ที่ 27 ตุลาคม พ.ศ. 2556

4.คุณลักษณะของ ห้างหุ้นส่วนจดทะเบียนห้างหุ้นส่วนสามัญ บริษัทจำกัด บริษัทมหาชนจำกัด

ลักษณะของห้างหุ้นส่วนสามัญ
ห้างหุ้นส่วนจะมีต้องมีบุคคลตั้งแต่สองคนขึ้นไปตกลงใจมาเข้ากันเพื่อทำกิจกรรมร่วมกัน โดยประสงค์จะแบ่งผลกำไรที่พึงได้จากกิจกรรมที่ทำนั้น  ซึ่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์เรียกว่า “ห้างหุ้นส่วน” การเป็นห้างหุ้นส่วนกฎหมายไม่บังคับให้จะทะเบียน  จะจดหรือไม่จดทะเบียนก็ได้      ถ้าไม่จดทะเบียนเรียกว่า “ห้างหุ้นส่วนสามัญ”  แต่ถ้าจดทะเบียนกับนายทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทเรียกวา “ห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล”  หรือ “ห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน”
ลักษณะของกิจการบริษัทจำกัด

      บริษัทจำกัด คือ  บริษัทประเภทซึ่งตั้งขึ้นด้วยการแบ่งทุนออกเป็นหุ้นมีมูลค่าเท่าๆกันผู้ถือหุ้นต่างรับผิดชอบจำกัดเพียงไม่เกินจำนวนเงินที่ตนยังส่งใช้ไม่ครบมูลค่าของหุ้นที่ตนถือมีลักษณะสำคัญดังนี้

1. มีการแบ่งทุนออกเป็นหุ้นมีมูลค่าเท่าๆ กัน อันเป็นการแตกต่างกับหุ้นในห้างหุ้นส่วนสามัญและห้างหุ้นส่วนจำกัดซึ่งอาจมีมูลค่าไม่เท่ากัน มูลค่าของหุ้นหนึ่งๆ ในบริษัทจำกัดนั้นต้องไม่ต่ำกว่า 5 บาท

2. มีผู้ถือหุ้นไม่ถึง 100 คนรวมทั้งนิติบุคคล ถ้ามีบุคคลตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป ถือหุ้นหุ้นเดียวร่วมกัน ให้นับเป็นผู้ถือหุ้น 1 คน นับตั้งแต่วันหรือหลังวันที่พระราชบัญญัติมหาชนจำกัด พ.ศ. 2521 ใช้บังคับ บริษัทใดซึ่งจัดตั้งขึ้นโดยมีผู้ถือหุ้นไม่ถึง 100 คน แต่ภายหลังมีผู้ถือหุ้นตั้งแต่ 100 คนขึ้นไป ต้องดำเนินการแปรสภาพเป็นบริษัทมหาชนจำกัด หรือลดจำนวนผู้ถือหุ้นให้เหลือไม่ถึงจำนวน 100 คน ภายใน 1 ปี นับตั้งแต่วันที่บริษัทนั้นมีผู้ถือหุ้นเกินจำนวนดังกล่าว

3. ผู้ถือหุ้นในบริษัทจำกัดต่างรับผิดจำกัดไม่เกินจำนวนเงินที่ตนยังส่งใช้ไม่ครบมูลค่าของหุ้นที่ตนถือ เช่นหุ้นในบริษัทจำกัดแห่งหนึ่ง มีมูลค่าหุ้นละ 100 บาท นายแดงถือหุ้นจำนวน 1 หุ้น ได้ชำระค่าหุ้นไปแล้ว 75 บาท จึงยังคงต้องรับผิดส่งเงินใช้ค่าหุ้นอีกเพียง 25 บาทเท่านั้น

4. คุณสมบัติของผู้ถือหุ้นไม่เป็นข้อสาระสำคัญ แม้ผู้ถือหุ้นคนใดตาย ล้มละลาย หรือตกเป็นผู้ไร้ความสามารถ บริษัทจำกัดนั้นก็ไม่เลิกกัน ผู้ถือหุ้นสามารถโอนหุ้นของตนให้แก่บุคคลอื่นได้ โดยไม่จำต้องได้รับความยินยอมของบริษัท เว้นแต่จะเป็นหุ้นชนิดระบุชื่อลงในใบหุ้น ซึ่งมีข้อบังคับของบริษัทกำหนดไว้เป็นอย่างอื่น นอกจากนี้ถ้าผู้ถือหุ้นของบริษัทตาย ทายาทของผู้ถือหุ้นนั้นก็รับมรดกเป็นผู้ถือหุ้นต่อไปได้ โดยไม่จำต้องได้รับความยินยอมจากบริษัท

ลักษณะของบริษัทมหาชนจำกัด 
บริษัทมหาชนจำกัด คือ บริษัทประเภทซึ่งตั้งขึ้นด้วยประสงค์ที่จะเสนอขายหุ้นต่อประชาชน โดยผู้ถือหุ้นมีความรับผิดจำกัดไม่เกินจำนวนเงินค่าหุ้นที่ต้องชำระ และบริษัทดังกล่าวได้ระบุความ ประสงค์เช่นนั้นไว้ในหนังสือบริคณห์สนธิ
อาจสรุปได้ว่า พ.ร.บ. บริษัทมหาชนจำกัด พ.ศ. 2535 ได้กำหนดลักษณะโครงสร้างของบริษัทมหาชนจำกัดไว้ ดังนี้
1. จำนวนผู้ถือหุ้น มีผู้ถือหุ้นตั้งแต่ 15 คนขึ้นไป
2. ทุนจดทะเบียน ไม่มีการกำหนดจำนวนทุนจดทะเบียนขั้นต่ำไว้
3. มูลค่าหุ้นและการชำระเงินค่าหุ้น หุ้นของบริษัทมหาชนจำกัดแต่ละหุ้นจะต้องมีมูลค่าเท่ากัน และต้องชำระค่าหุ้นครั้งเดียวเต็มมูลค่าหุ้น
4. จำนวนกรรมการ ต้องมีจำนวนกรรมการของบริษัทไม่น้อยกว่า 5 คน และกรรมการไม่น้อย กว่ากึ่งหนึ่งต้องมีที่อยู่ในประเทศไทย

3.อาชญากรรมคอมพิวเตอร์

อาชญากรรมคอมพิวเตอร์คือ ผู้กระทำผิดกฎหมายโดยใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์เป็นส่วนสำคัญ มีการจำแนกไว้ดังนี้
1.Novice เป็นพวกเด็กหัดใหม่(newbies)ที่เพิ่งเริ่มหัดใช้คอมพิวเตอร์มาได้ไม่นาน หรืออาจหมายถึงพวกที่เพิ่งได้รับความไว้วางใจให้เข้าสู่ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์

2.Darnged person คือ พวกจิตวิปริต ผิดปกติ มีลักษณะเป็นพวกชอบความรุนแรง และอันตราย มักเป็นพวกที่ชอบทำลายทุกสิ่งที่ขวางหน้าไม่ว่าจะเป็นบุคคล สิ่งของ หรือสภาพแวดล้อม

3.Organized Crime พวกนี้เป็นกลุ่มอาชญากรที่ร่วมมือกันทำผิดในลักษณะขององค์กรใหญ่ๆ ที่มีระบบ พวกเขาจะใช้คอมพิวเตอร์ที่ต่างกัน โดยส่วนหนึ่งอาจใช้เป็นเครื่องหาข่าวสาร เหมือนองค์กรธุรกิจทั่วไป อีกส่วนหนึ่งก็จะใช้เทคโนโลยีเพื่อเป็นตัวประกอบสำคัญในการก่ออาชญากรรม หรือใช้เทคโนโลยีกลบเกลื่อนร่องร่อย ให้รอดพ้นจากเจ้าหน้าที่

4.Career Criminal พวกอาชญากรมืออาชีพ เป็นกลุ่มอาชญากรคอมพิวเตอร์ที่มีอยู่มาก กลุ่มนี้น่าเป็นห่วงมากที่สุด เนื่องจากนับวันจะทวีจำนวนมากขึ้นเรื่อยๆ โดยจับผิดแล้วจับผิดเล่า บ่อยครั้ง
5. Com Artist คือพวกหัวพัฒนา เป็นพวกที่ชอบความก้าวหน้าทางคอมพิวเตอร์ เพื่อให้ได้มาซึ่งผลประโยชน์ส่วนตน อาชญากรประเภทนี้จะใช้ความก้าวหน้า เกี่ยวกับระบบคอมพิวเตอร์ และความรู้ของตนเพื่อหาเงินมิชอบทางกฎหมาย

6.Dreamer พวกบ้าลัทธิ เป็นพวกที่คอยทำผิดเนื่องจากมีความเชื่อถือสิ่งหนึ่งสิ่งใดอย่างรุ่นแรง

7.Cracker หมายถึง ผู้ที่มีความรู้และทักษะทางคอมพิวเตอร์เป็นอย่างดี จนสามารถลักลอบเข้าสู่ระบบได้ โดยมีวัตถุประสงค์เข้าไปหาผลประโยชน์อย่างใดอย่างหนึ่ง มักเข้าไปทำลายหรือลบไฟล์ หรือทำให้คอมพิวเตอร์ใช้การไม่ได้ รวมถึงทำลายระบบปฏิบัติการ

2. นิติกรรม แบบนิติกรรม ความสมบูรณ์ของนิติกรรม

นิติกรรม  หมายความว่าการใด ๆ อันทำลงโดยชอบด้วยกฎหมายและด้วยใจสมัคร  มุ่งโดยตรงต่อการผูกนิติสัมพันธ์ขึ้นระหว่างบุคคล  เพื่อจะก่อ  เปลี่ยนแปลง  โอน สงวน  หรือระงับซึ่งสิทธิ

แบบของนิติกรรม หรือกรอบพิธีภายนอกของนิติกรรมนั้น  โดยหลักแล้วแม้นิติกรรมจะสมบูรณ์เมื่อมีการแสดงเจตนาก็ตาม  แต่การแสดงเจตนาอย่างเดียวยังไม่เพียงพอ ต้องทำตามแบบหรือกรอบพิธีภายนอกของนิติกรรมเสียก่อน  มิฉะนั้นมีผลเป็นโมฆะ
กล่าวโดยสรุป  แบบของนิติกรรม  หมายถึงวิธีการหรือพิธีการที่กฎหมายกำหนดและบังคับให้ผู้แสดงเจตนาทำนิติกรรมต้องปฏิบัติตาม  เพื่อความสมบูรณ์ของนิติกรรมที่ทำ
อย่างไรก็ตามกฎหมายไม่ได้กำหนดแบบนิติกรรมในทุกเรื่อง  หากนิติกรรมใดกฎหมายไม่ได้กำหนดแบบไว้  นิติกรรมนั้นอาจสมบูรณ์ได้เพียงการแสดงเจตนา
ตัวอย่าง  เช่นต้องการซื้อข้าวผัด  1  ห่อ  เพียงสั่งข้าวผัดและคนขายผัดข้าวผัดส่งให้  เป็นการแสดงเจตนาด้วยวาจา  เพียงเท่านี้นิติกรรมซื้อขายข้าวผัดก็เกิดแล้ว กฎหมายไม่ได้กำหนดแบบของนิติกรรม

ความสมบูรณ์ของนิติกรรม ขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ของนิติกรรมว่าชอบด้วยกฎหมายหรือไม่
วัตถุประสงค์ของนิติกรรม คือ ประโยชน์อันเป็นผลสุดท้ายที่ผู้แสดงเจตนาทำนิติกรรมประสงค์จะให้เกิดขึ้น หรือเป็นผลที่เกิดขึ้นมาจากนิติกรรมที่ตนแสดงเจตนา เช่น การซื้อปืนมาก็เพื่อจะได้กรรมสิทธิ์ ดังนั้น วัตถุประสงค์ในการซื้อปืนก็คือกรรมสิทธิ์ในตัวปืน
ส่วนมูลเหตุชักจูงใจให้ทำนิติกรรม คือ สิ่งที่เป็นมูลเหตุให้มีการทำนิติกรรม เช่น ผู้ซื้อซื้อปืนมาก็เพื่อใช้ยิงสัตว์, แข่งขันกีฬา หรือนำไปฆ่าคน ซึ่งโดยปกติแล้วมูลเหตุชักจูงใจจะเป็นเรื่องภายในจิตใจของผู้ทำนิติกรรม
ดังนั้นกฎหมายจึงพิจารณาเพียงวัตถุประสงค์ของนิติกรรมเท่านั้นในการพิจารณาว่านิติกรรมชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ เว้นแต่มูลเหตุชักจูงใจดังกล่าวจะล่วงรู้ถึงอีกฝ่ายหนึ่งจึงจะถือว่ามูลเหตุชักจูงใจกลายมาเป็นวัตถุประสงค์ของนิติกรรม เช่น ผู้ซื้อซื้อปืนมาก็เพื่อนำไปฆ่าคน หากผู้ขายไม่รู้นิติกรรมครั้งนี้ก็สมบูรณ์ เพราะถือว่าวัตถุประสงค์ของการซื้อในครั้งนี้ก็คือกรรมสิทธิ์ในตัวปืนเท่านั้น แต่หากผู้ขายรู้ว่าผู้ซื้อซื้อปืนไปก็เพื่อนำไปฆ่าคนก็จะทำให้มูลเหตุชักจูงใจของผู้ซื้อ กลายเป็นวัตถุประสงค์ของนิติกรรมอันทำให้นิติกรรมซื้อขายในครั้งนี้ไม่สมบูรณ์ ตกเป็นโมฆะ

1.ที่มาของกฏหมายไทย

ประวัติและความเป็นมาของกฎหมายไทย
ยุคแรกสมัยสุโขทัย
ประเทศไทย ของเราดารงความเป็นเอกราชมาเนิ่นนานมาหลายร้อยปี โดยที่น้อยคนที่จะได้รับรู้ถึงความเป็นมาของประวัติศาสตร์ กฎหมายไทย กฎหมายไทยมีการวิวัฒนาการมานาน เช่นเดียวกันกับกฎหมายของประเทศต่างๆ ก่อนที่ประเทศไทยจะได้ใช้ระบบประมวลกฎหมาย ไทยก็มีระบบกฎหมายใช้เป็นของตนเองเช่นกัน ซึ่งจะอยู่ในรูปของกฎหมายจารีตประเพณี ซึ่งได้ถูกปฏิบัติสืบต่อกันมาจนยอมรับว่าเป็นกฎหมายในที่สุด และก็ได้มีการบันทึกไว้เป็นลายลักษณ์อักษรในกาลต่อมา เพื่อให้สมาชิกในชุมชนได้รู้และปฏิบัติตาม รวมถึงมีความสาคัญระหว่างบุคคลกับรัฐ กฎหมายจึงต้องมีเนื้อหาหรือองค์ประกอบสาคัญที่จะทาให้ต่างกับศีลธรรมคือ กฎหมายจะต้องเป็นรัฐาธิปัตย์ ที่มีสภาพบังคับใช้ให้ประชาชนยอมรับและต้องปฏิบัติตาม
นับตั้งแต่ประเทศไทยมีการรวมกันเป็นน้าหนึ่งใจเดียวกันระหว่างเจ้าครองนครในอดีต ๓ พระองค์อันได้แก่ พ่อขุนรามคาแหงมหาราชแห่งอาณาจักรสุโขทัย พ่อขุนงาเมืองแห่งแคว้นพะเยา และพญามังรายแห่งอาณาจักรล้านนา นั้นได้ปรากฏว่า ในยุคที่พญามังรายได้ปกครองบ้านเมืองนั้นพระองค์ได้ทรงกาหนดรูปแบบการปกครองภายใต้กฎหมายที่เรียกกันในชื่อ‚มังรายศาสตร์‛ โดยมีการปกครองแบบพระโอรสและเครือญาติไปปกครองตามหัวเมืองต่าง ๆ และเข้าใจว่าตัวกฎหมายฉบับนี้คงได้รับอิทธิพลมาจาก กฎหมายธรรมศาสตร์ ของมอญเป็นต้น เช่นเดียวกันการปกครองในสมัยพ่อขุนรามคาแห่งซึ่งนับเป็นปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์พระร่วงและอาณาจักรสยามได้มีการปกครองแบบพ่อปกครองลูก โดยมี กฎหมายแรกที่ปรากฏเป็นหลักฐานอยู่ในศิลาจารึกพ่อขุนรามคาแหง ( ปีพ.ศ.๑๘๒๘-๑๘๓๕ ) เรียกกันว่า กฎหมายสี่บท ได้แก่
๑.) บทเรื่องมรดก
๒.)บทเรื่องที่ดิน
๓.)บทวิธีพิจารณาความ
๔.)บทลักษณะฎีกา
และมีการเพิ่มเติมกฎหมายลักษณะโจรลงไปในครั้งรัชสมัยพญาเลอไทย กษัตริย์สุโขทัยองค์ที่ ๔ ซึ่งมีส่วนของการนากฎหมายพระธรรมศาสตร์มาใช้ ซึ่งได้รับอิทธิพลมาจากพราหมณ์ ซึ่งได้มีส่วนขยาย ที่เรียกว่า ‘พระราชศาสตร์’ มาใช้ประกอบด้วย
ยุคกรุงศรีอยุธยา
ครั้นมาถึงสมัยกรุงศรีอยุธยา ที่นับว่าเป็นราชธานีแห่งที่สองของไทย ได้ก่อตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ. ๑๘๙๓ – ๒๓๑๐ พระมหากษัตริย์ในยุคนั้น ได้สร้าง กฎหมายซึ่งเรียกว่าพระราชศาสตร์ ไว้มากมาย พระราชศาสตร์เหล่านี้ เมื่อเริ่มต้นได้อ้างถึงพระธรรมศาสตร์ฉบับของมนูเป็นแม่บท เรียกกันว่า ‘มนูสาราจารย์’ พระธรรมศาสตร์ฉบับของมนูสาราจารย์นี้ เป็นกฎหมายที่มีต้นกาเนิดในอินเดีย เรียกว่าคาภีร์พระธรรมศาสตร์ ต่อมามอญได้เจริญและปกครอง
ดินแดนแหลมทองมาก่อน ได้แปลต้นฉบับคาภีร์ภาษาสันสกฤตมาเป็นภาษาบาลีเรียกว่า ‘คาภีร์ธรรมสัตถัม’ และได้ดัดแปลงแก้ไขบทบัญญัติบางเรื่องให้มีความเหมาะสมกับชุมชนของตน ต่อจากนั้นนักกฎหมายไทยในสมัยพระนครศรีอยุธยาจึงนาเอาคาภีร์ของมอญของมอญมาเป็นหลักในการบัญญัติกฎหมายของตน ลักษณะกฎหมายในสมัยนั้นจะเป็นกฎหมายอาญาเสียเป็นส่วนใหญ่ ในยุคนั้น การบันทึกกฎหมายลงในกระดาษเริ่มมีขึ้นแล้ว เชื่อกันว่าการออกกฎหมายในสมัยก่อนนั้น จะคงมีอยู่ในราชการเพียงสามฉบับเท่านั้น ได้แก่ ฉบับที่พระมหากษัตริย์ทรงใช้งาน ฉบับให้ขุนนางข้าราชการทั่วไปได้อ่านกัน หรือคัดลอกนาไปใช้ ฉบับสุดท้ายจะอยู่ที่ผู้พิพากษาเพื่อใช้ในการพิจารณาอรรถคดี
ยุคกรุงธนบุรี
กฎหมายสมัยกรุงธนบุรี เนื่องจากเป็นระยะเวลาที่ต้องกอบบ้านกู้เมือง หรือก่อบ้านสร้างเมืองประกอบกับสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ได้มีพระราชหฤทัยในการคิดป้องกันบ้านเมืองเพื่อมิให้ข้าศึกมารุกรานและเน้นการรวบรวมกลุ่มคนไทยที่ต้องอยู่กับอย่างกระจัดกระจาย ล้มหายตายจากและถูกข้าศึกเทครัวกลับไปยังประเทศพม่า ประกอบกับบ้านเมืองหลังจากเกิดศึกสงคราม ได้รับความบอบช้ามาอย่างหนัก และพระองค์มีจิตคิดฝักใฝ่ในเรื่องธรรมมะในช่วงระยะเวลาสุดท้ายของพระชนม์ชีพ กฎหมายของกรุงธนบุรีจึงอ้างอิงมาจากกรุงศรีอยุธยาเสียเป็นส่วนใหญ่
ยุคกรุงรัตนโกสินทร์
กฎหมายสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ ในสมัยนั้น พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช รัชกาลที่๑ ปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์จักรี เห็นว่ากฎหมายที่ใช้กันแต่ก่อนมานั้นขาดความชัดเจน และไม่ได้รับการจัดเรียงไว้เป็นหมวดหมู่ ที่จะทาให้ง่ายต่อการศึกษาและนามาใช้ จึงโปรดเกล้าให้มีการชาระกฎหมายขึ้นมาใหม่ ในคาภีร์พระธรรมศาสตร์ โดยนามารวบรวมกฎหมายเดิมเข้าเป็นลักษณะหมวด หมู่ที่จะทาให้ง่ายต่อการค้นคว้า สาเร็จเมื่อ พ.ศ. ๒๓๔๘ และได้ทรงนามาประทับตราเป็นตราพระราชสีห์ ซึ่งเป็นตราของกระทรวงมหาดไทย ตราคชสีห์ ของพระทรวงกลาโหม และตราบัวแก้ว ซึ่งเป็นตราของคลังบนหน้าปกของกฎหมายแต่ละเล่ม จาแนกตามลักษณะระเบียบของการปกครองในสมัยนั้น กฎหมายฉบับนั้นเรียกกันว่า ‘กฎหมายตราสามดวง’ กฎหมายตราสามดวงนี้ ถือเป็นประมวลกฎหมายของแผ่นดินที่ได้รับการปรับปรุงให้มีความรัดกุม ยุติธรรมทั้งทางแพ่งและอาญา นอกจากจะได้บรรจุพระธรรมศาสตร์ตั้งแต่สมัยอยุธยาแล้ว ยังคงมีกฎหมายสาคัญๆอีกหลายเรื่อง อาทิ กฎหมายลักษณะพยาน ลักษณะทาส ลักษณะโจร และต่อมาได้มีการตราขึ้นอีกหลายฉบับ ต่อมาประเทศไทยมีการติดต่อสัมพันธ์ไมตรีกับประเทศต่างๆมาก พึงเห็นได้ว่ากฎหมายเดิมนั้นไม่ได้รับการยอมรับจากนานาอารยะประเทศ จนทาให้ไทยต้องเสียสิทธิสภาพนอกอาณาเขต นอกจากนั้นยังไม่สามารถนามาใช้บังคับได้ทุกกรณี พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงทรงตรากฎหมายขึ้นใหม่ อาทิ พระราชบัญญัติมารดาและสินสมรส
ครั้นในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงจัดวางระบบศาลขึ้นมาใหม่ และได้ให้ผู้เชี่ยวชาญทางกฎหมายทั้งจากอังกฤษ ฝรั่งเศส เบลเยี่ยม ญี่ปุ่น และลังกามาเป็นที่ปรึกษากฎหมาย และในสมัยนั้นพระราชโอรสของพระองค์ที่ได้ทรงให้ไปศึกษาด้านกฎหมายคือ พระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์ ก็ได้ร่วมกันแก้ไขชาระกฎหมายตราสามดวงเดิมขึ้นใหม่ และจัดพิมพ์ลงในหนังสือเป็นรูปเล่ม ขึ้นในชื่อ
ของ ‘กฎหมายราชบุรี’ ในปีพ.ศ. ๒๔๔๐ และในการนี้เองพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงแต่งตั้งคณะกรรมการตรวจชาระและร่างกฎหมายขึ้นมาใหม่ ทาการร่างกฎหมายลักษณะอาญา ร่างกฎหมายว่าด้วยการเลิกทาส กฎหมายวิธีสบัญยัติ ร่างประมวลกฎหมายแพ่งและกฎหมายที่สาคัญหลายๆฉบับ จนพระบรมวงศ์เธอกรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์หรือพระองค์เจ้ารพีพัฒนศักดิ์ ได้รับพระราชทินนามว่าเป็นพระบิดาแห่งกฎหมายไทย และกาหนดให้วันที่ ๗ เดือนสิงหาคมของทุกปีเป็นวันรพี
เนื่องจากสังคมโลก มีการเปลี่ยนแปลงและพัฒนาขึ้นในทุกวินาทีที่โลกหมุนไป ประชาชนในทุกส่วนของโลกมีการติดต่อซึ่งกันและกันมีการพัฒนาการศึกษาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ถึงสังคมวัฒนธรรมและมีความรู้สึกนึกคิดที่พัฒนายกระดับสังคมตนเอง ขึ้นตามกระแสโลก จึงมีการเปรียบเทียบระหว่างสังคมของตนเองและสังคมของผู้อื่น ตามวิสัยของปุถุชน และเห็นว่าการปกครองแบบเก่า ๆ คือระบบสมบูรณาญาสิทธิราชมีความเหลื่อมล้ากันทางด้านสังคมมากมาย และการปกครองเมืองต้องขึ้นอยู่กับพระราชอานาจของผู้ปกครองนคร ซึ่งเหมือนกับว่าหากระยะเวลาที่บ้านเมืองมีผู้ปกครองที่มีความบริสุทธิ์ ยุติธรรม มีศีลธรรม และมีความปรีชาสามารถ เห็นแก่บ้านเมืองและประโยชน์สุขของประชาชนก็ถือได้ว่า เป็นโชคอันมหาศาล แต่หากผู้ปกครองบ้านเมืองไม่สนในต่อกิจการบ้านเมือง ก็ถือว่าเป็นคราวโชคร้ายของบ้านเมืองไป
ดังจะกล่าวถึงประเทศฝรั่งเศส ที่มีการเหลื่อมล้าระหว่างชนชาติมาช้านาน มีการแบ่งชนชั้นการปกครองในประเทศเป็น ๓ ชั้น หรือ ๓ วรรณะ คือ
๑.ชนชนของพระสมณะ ซึ่งแบ่งออกเป็นพระสมณะสูง และพระสมณะต่า
๒.ชนชั้นขุนนาง ซึ่งแบ่งออกเป็น ๒ กลุ่มคือกลุ่มที่สืบเชื้อชาติมาจากบรรพบุรุษ และ
นักปราชญ์หรือปัญญาชน
๓.ชนชั้นสามัญ แบ่งเป็น ๒ กลุ่มเช่นกัน คือกลุ่มพ่อค้า และผู้มีการศึกษา และทาส
ด้วยอิทธิพลของธรรมชาติของปุถุชนนี้เองที่กระตุ้นความต้องการของคน ที่อยากให้มีความทัดเทียมกันเกิดขึ้นในสังคมที่ตนเองได้อาศัยอยู่ จึงเกิดความต้องการอยากที่จะทาลายล้างระบบการปกครองแบบเก่า ๆ เพื่อที่ตนเองจะได้เป็นผู้ที่มีอานาจในการเมืองบ้าง จึงมีการชุมนุมกันเพื่อเรียกร้องหาการร่างรัฐธรรมนูญ เพื่อสิทธิและเสรีภาพของประชาชน ในที่สุดวันที่ ๑๔ กรกฎาคม ค.ศ. ๑๗๘๙ ทหารและกลุ่มกาลังของประชาชนก็ได้พร้อมใจกันทาลายล้างอานาจพระมหากษัตริย์ มี นโปเลียน โบนาปาร์ตเป็นผู้นาที่สาคัญนั่นเอง
ประเทศไทย หลังจากที่สมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่๕ ได้ทรงเสด็จประพาสไปยังนานาประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก เพื่อที่ทรงศึกษาวัฒนธรรมประเพณี และเชื่อมสัมพันธไมตรีกับประเทศต่าง ๆ เพื่อที่จะทรงศึกษาและนาอารยะธรรมใหม่ ๆ มาพัฒนาประเทศไทยให้มีความทัดเทียมกับนานา ประเทศ จึงได้โปรดเกล้าส่งพระราชโอรสที่ทรงเล็งเห็นว่ามีพระปรีชาสามารถหรือความถนัดในเรื่องของการศึกษาแขนงใดใด ให้ไปศึกษาต่อยังประเทศที่มีความเจริญในแขนงนั้น เพื่อที่จะนาความรู้มาพัฒนาประเทศต่อไป
จวบจนถึงรัชสมัยพระสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๖ ที่ได้ทรงไปศึกษายังต่างประเทศและมีโอกาสที่ได้เรียนรู้การปกครองรูปแบบใหม่ ที่เรียกว่าการปกครองแบบประชาธิปไตย ทรงเล็งเห็นว่าในอนาคตข้างหน้าประเทศไทยจักต้องมีความเจริญทัดเทียมนานาอารยะประเทศ จึงทรงทดลองการสร้างเมืองจาลองขึ้นในพระราชวัง มีการปกครองด้วยตนเอง มีการเลือกตั้งในระบบเทศาภิบาล (เทศบาลในปัจจุบัน) ชื่อเมือง ‚ดุสิตธานี‛ เพื่อเป็นเมืองต้นแบบก่อนที่จะทรงมอบอานาจให้กับประชาชนชาวไทย ได้มีการปกครองตนเองก่อน และทรงเห็นว่าประชาชนชาวไทยในขณะนั้นส่วนใหญ่ ยังไม่มีความพร้อมที่จะได้รับอานาจการปกครองดังกล่าว เพราะประชาชนของพระองค์ส่วนใหญ่ ยังมีการศึกษาที่ยังไม่ถึงเกณฑ์มาตรฐาน แต่ก่อนที่ประชาชาชนชาวไทยจะทันได้ใช้หรือได้เห็นระบบการปกครองนี้ พระองค์ก็ทรงสวรรคตเสียก่อน
ในรัชสมัยต่อมาสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่๗ ได้ทรงปกครองบ้านเมือง พระองค์ทรงมีพระพลานามัยที่ไม่ค่อยแข็งแรงนัก ต้องเข้ารับการรักษาตัวในสถานที่พยาบาลบ่อย ๆ ทาให้การออกว่าราชการของพระองค์เป็นไปอย่างไม่เต็มที่ และบรรดานักเรียนทุนหลวงที่ทางรัฐบาลไทยได้ส่งไปศึกษาต่อยังต่างประเทศ เช่น เยอรมัน ฝรั่งเศส สหรัฐอเมริกา เพื่อที่จะกลับมารับราชการสนองพระเดชพระคุณ ได้เรียนวิชาต่าง ๆ รวมถึงวิชากฎหมาย และเห็นว่าประเทศไทยยังมีความล้าหลังในการปกครองประเทศกว่านานา ประเทศตะวันตกอยู่มาก ด้วยความเป็นนักเรียนหนุ่มอายุน้อย และอยากเห็นการพัฒนาประเทศเป็นไปได้ด้วยความรวดเร็วที่สุดจึงได้มีการติดต่อประสานงานจัดตั้งคณะราษฎร์ขึ้นเพื่อที่จะปฏิวัติการปกครองประเทศขึ้นมาใหม่ โดยมีรัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายสูงสุด ตามแบบนานา อารยะประเทศที่ตนได้ไปศึกษาและเรียนรู้มามีการแบ่งสายการทางานเป็น ๒ สาย คือสายราษฎรและสายทหาร โดยมีผู้นาที่สาคัญดังนี้
๑.สายของพลเรือนนาโดยหลวงประดิษฐ์มนูธรรม หรือนายปรีดี พนมยงค์ และพรรคพวก
๒. สายทหาร นาโดย นายทหารชั้นสูงระดับผู้บังคับการ จานวน ๓ ท่านคือ พระยาทรงสุเดช พระยาพหลพลพยุหเสนา และพระประศาสตร์พิทยายุทธ์ได้การกระทาการปฏิวัติเปลี่ยนแปลงการปกครองของประเทศไทย จากระบบสมบูรณาญาสิทธิราช มาเป็นระบบประชาธิปไตย ในวันที่ ๒๔ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๗๕ ใช้เวลาร่างรัฐธรรมนูญชั่วคราว เพียง ๒ วัน ก็แล้วเสร็จในวันที่ ๒๗ มิถุนายน พ.ศ.๒๔๗๕ ให้พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๗ ทรงลงพระปรมาภิไธย ก่อนมีการแก้ไขเพิ่มแล้ว ประกาศใช้ในวันที่ ๑๐ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๗๕ โดยมี พระยามโนปกรณ์ นิติธาดา เป็นนายกรัฐมนตรีคนแรกของประเทศไทย
นับตั้งแต่การเปลี่ยนแปลงการปกครองจากปี พ.ศ. ๒๔๗๕ จนถึงปัจจุบันเป็นเวลา ๗๕ ปีแล้ว ประเทศไทยมีรัฐธรรมนูญทั้งถาวรและชั่วคราวรวมกัน ๑๗ ฉบับ เฉลี่ยแล้ว รัฐธรรมนูญฉบับหนึ่งใช้ได้เพียง ๔ ปี ๓ เดือนเท่านั้น